วัตถุดิบ
ในอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยุคปัจจุบัน ได้มีการนำวัตถุดิบชนิดต่างๆ มาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายมากขึ้นของผู้ใช้งาน การเลือกใช้ถุงมือจากวัตถุดิบที่เหมาะสม เป็นขั้นตอนสำคัญขั้นแรกในการเลือกถุงมือให้เหมาะสมกับงาน
ข้อดี
-
ให้ความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ ให้ความรู้สึกสบายมือ
-
ต้านทานการขูดขีดและฉีกขาดได้ดี
-
เหมาะกับงานสัมผัสเคมีเหลว
-
มีลายบนถุงมือ ป้องกันความลื่น ยึดเกาะพื้นผิวได้ดี
ข้อควรพิจารณา
-
ทนต่อสารเคมีตระกูลปิโตรเคมี ได้น้อยกว่า
-
ไม่ทนต่อความร้อน เชื้อเพลิง และโอโซน
-
ก่อให้เกิดอาการแพ้ในผู้ใช้บางรายได้
ข้อดี
-
ทนต่อปิโตรเคมี น้ำมัน และไขมัน ได้ดีเยี่ยม
-
ทนความร้อนได้ดี
-
ทนต่อของมีคมได้ดีกว่าน้ำยางธรรมชาติ
-
ไม่มีส่วนประกอบของโปรตีน จากน้ำยางธรรมชาติ จึงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ยาง
ข้อควรพิจารณา
-
เนื้อวัสดุแข็งกว่ายางธรรมชาติ (ยืดหยุ่นน้อยกว่า) อาจทำให้รู้สึกเมื่อยมือได้ง่ายกว่าถุงมือยางธรรมชาติ เมื่อทำงานเป็นเวลานาน
-
ยึดเกาะพื้นผิวได้น้อยกว่าถุงมือยางธรรมชาติ
-
ยืดตัวได้น้อยกว่า สามารถฉีกขาดได้ง่ายกว่าถุงมือยางธรรมชาติ
ข้อดี
-
ทนต่อสารเคมีหลากหลายประเภท เช่น กรด แอลกอฮอลล์ และไขมัน
-
มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สวมใส่สบายมือ เมื่อเทียบกับถุงมือยางเทียม (ไนไตรล์)
-
ไม่มีส่วนประกอบของยางธรรมชาติ จึงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ยาง
-
ทนต่อความร้อนและเชื้อเพลิง
ข้อควรพิจารณา
-
ยึดเกาะพื้นผิวได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
- + ยางธรรมชาติ
-
ข้อดี
-
ให้ความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ ให้ความรู้สึกสบายมือ
-
ต้านทานการขูดขีดและฉีกขาดได้ดี
-
เหมาะกับงานสัมผัสเคมีเหลว
-
มีลายบนถุงมือ ป้องกันความลื่น ยึดเกาะพื้นผิวได้ดี
ข้อควรพิจารณา
-
ทนต่อสารเคมีตระกูลปิโตรเคมี ได้น้อยกว่า
-
ไม่ทนต่อความร้อน เชื้อเพลิง และโอโซน
-
ก่อให้เกิดอาการแพ้ในผู้ใช้บางรายได้
-
- + น้ำยางเทียม (ไนไตรล์)
-
ข้อดี
-
ทนต่อปิโตรเคมี น้ำมัน และไขมัน ได้ดีเยี่ยม
-
ทนความร้อนได้ดี
-
ทนต่อของมีคมได้ดีกว่าน้ำยางธรรมชาติ
-
ไม่มีส่วนประกอบของโปรตีน จากน้ำยางธรรมชาติ จึงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ยาง
ข้อควรพิจารณา
-
เนื้อวัสดุแข็งกว่ายางธรรมชาติ (ยืดหยุ่นน้อยกว่า) อาจทำให้รู้สึกเมื่อยมือได้ง่ายกว่าถุงมือยางธรรมชาติ เมื่อทำงานเป็นเวลานาน
-
ยึดเกาะพื้นผิวได้น้อยกว่าถุงมือยางธรรมชาติ
-
ยืดตัวได้น้อยกว่า สามารถฉีกขาดได้ง่ายกว่าถุงมือยางธรรมชาติ
-
- + นีโอพรีน
-
ข้อดี
-
ทนต่อสารเคมีหลากหลายประเภท เช่น กรด แอลกอฮอลล์ และไขมัน
-
มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สวมใส่สบายมือ เมื่อเทียบกับถุงมือยางเทียม (ไนไตรล์)
-
ไม่มีส่วนประกอบของยางธรรมชาติ จึงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ยาง
-
ทนต่อความร้อนและเชื้อเพลิง
ข้อควรพิจารณา
-
ยึดเกาะพื้นผิวได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
-
ความหนา
หลังจากเลือกวัตถุดิบถุงมือ ที่เหมาะกับงานที่คุณต้องการได้แล้ว องค์ประกอบต่อไปของถุงมือที่คุณควรมองหาคือ ความหนา ถุงมือหนาคือถุงมือที่มีเนื้อยางอยู่หลายชั้น หรือมีชั้นยางที่หนากว่า ซึ่งทำให้ตัวถุงมือทำหน้าที่ปกป้องได้ดีกว่า และยังทนทานมากกว่าอีกด้วย แต่ความหนาที่มากกว่า ก็มีผลทำให้ความคล่องตัวในการใช้ถุงมือลดลงเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว การใส่ถุงมือหนาทำงานเป็นเวลานาน ยังก่อให้เกิดอาการเมื่อล้ามือได้อีกด้วย ซึ่งกรณีนี้จะเห็นได้ชัดในถุงมือที่เป็นวัตถุดิบเนื้อแข็ง เช่น ถุงมือไนไตรล์ ดังนั้น ในการเลือกถุงมือที่เหมาะสม ควรประเมินและเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย ระหว่าง ความทนทาน ความคล่องตัวในการใส่ใช้งาน และราคา ประกอบกันในการเลือกใช้ เรามีความสามารถในการผลิตถุงมือด้วยความหนาที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานของคุณ
ความยาว
ความยาวปกติของถุงมือทั่วไป ตกอยู่ที่ช่วง 12-16 นิ้ว ถุงมือที่ยาวกว่าจะเหมาะสำหรับงานหนัก หรืองานที่ต้องการการปกป้องที่มากกว่า
ซับในถุงมือ
ถุงมือแม่บ้าน มีซับในถุงมือหลายชนิด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการซึมซับความชื้น และเพื่อความนุ่มสบายในการสวมใส่ถุงมือ แต่ถุงมือที่ไม่เคลือบผิวด้านใน (un-lined) ก็เหมาะสำหรับงานบางประเภท ที่มีมาตรฐานสุขอนามัยสูง เช่นอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากวัสดุเคลือบผิวด้านใน อาจหลุดไปสู่ตัวถุงมือได้
ข้อดี
-
ซึมซับความชื้นจากเหงื่อได้ดีกว่า ช่วยทำให้มือแห้งได้นานขึ้น เวลาสวมใส่ถุงมือ
-
ให้ความรู้สึกสบายจากชั้นกำมะหยี่ที่หนา
ข้อควรพิจารณา
-
การเคลือบกำมะหยี่ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลให้ผงกำมะหยี่หลุดออก และเจือปนกับชิ้นงานได้
-
ไม่เหมาะกับงานสัมผัสอาหาร
ข้อดี
-
เหมาะสมสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากซับในอาจหลุด และเจือปนในชิ้นงานอาหารได้
ข้อควรพิจารณา
-
อาจเกิดการสะสมความชื้นภายในถุงมือหากมีการสวมใส่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ข้อดี
-
ซับในที่มีสีต่างจากถุงมือทำให้สามารถตรวจสอบโดยสายตาได้ง่ายขึ้นในกรณีที่ผิวด้านนอกหลุด
-
มีพื้นผิวที่ลื่นทำให้สามารถสวมใส่ง่าย
ข้อควรพิจารณา
-
อาจเกิดการสะสมความชื้นภายในถุงมือหากมีการสวมใส่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- + ถุงมือซับในกำมะหยี่
-
ข้อดี
-
ซึมซับความชื้นจากเหงื่อได้ดีกว่า ช่วยทำให้มือแห้งได้นานขึ้น เวลาสวมใส่ถุงมือ
-
ให้ความรู้สึกสบายจากชั้นกำมะหยี่ที่หนา
ข้อควรพิจารณา
-
การเคลือบกำมะหยี่ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลให้ผงกำมะหยี่หลุดออก และเจือปนกับชิ้นงานได้
-
ไม่เหมาะกับงานสัมผัสอาหาร
-
- + ถุงมือไม่มีซับใน
-
ข้อดี
-
เหมาะสมสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากซับในอาจหลุด และเจือปนในชิ้นงานอาหารได้
ข้อควรพิจารณา
-
อาจเกิดการสะสมความชื้นภายในถุงมือหากมีการสวมใส่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
-
- + ถุงมือซับในสีเงิน
-
ข้อดี
-
ซับในที่มีสีต่างจากถุงมือทำให้สามารถตรวจสอบโดยสายตาได้ง่ายขึ้นในกรณีที่ผิวด้านนอกหลุด
-
มีพื้นผิวที่ลื่นทำให้สามารถสวมใส่ง่าย
ข้อควรพิจารณา
-
อาจเกิดการสะสมความชื้นภายในถุงมือหากมีการสวมใส่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
-
ลายบนถุงมือ
ลายบนถุงมือ |
รูปแบบ |
คุณสมบัติ |
ลายรวงผึ้ง |
ลายถุงมือไขว้ในรูปแบบรวงผึ้งช่วยในการระบายของเหลวบนพื้นผิวถุงมือจึงเหมาะสำหรับการจับพื้นผิวเปียกหรือลื่นจากไขมัน |
|
ลายเกล็ดปลา |
ลายเกล็ดปลาทำให้เกิดลักษณะใกล้เคลียงศูนย์อากาศซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธภาพในการยึดจับพื้นผิว |
|
ลายเพ็ชร |
ลายเพ็ชรมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการจับพื้นผิวที่ลื่น |
|
ลายเพ็ชรสำหรับงานอุตสาหกรรม |
ลายเพ็ชรอุตสาหกรรมมีขนาดที่ใหญ่กว่า และมีความลึกของลายมากกว่าทำให้สามารถจับพื้นผิวที่ลื่นจากสารหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะอย่างยิ่งต่อการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม |
|
ลายคลื่น |
ลายคลื่นทำให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นผิวที่สัมผัสได้เป็นอย่างดี จึงทำให้เหมาะสมต่อการจับพื้นผิวเปียก |
ขอบถุงมือ
ขอบถุงมือ |
รูปแบบ |
ลักษณะ |
ขอบลายหยัก |
ขอบลายหยักถูกออกแบบเพื่อสามารถดักจับของเหลวก่อนที่จะไหลเข้าสู่ภายในถุงมือ |
|
ขอบตัดตรง |
ความยาวที่มากกว่าของขอบตัดตรงทำให้สามารถพับขอบลงได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการกันน้ำ หรือสารเคมี |
|
ขอบม้วน |
ขอบแบบม้วนที่มีความแข็งแกร่งที่สูงกว่า ซึ่งเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำ สารเคมี หรือไขมันได้ดีกว่า |