โดยถุงมือทุกตัวจำเป็นต้องผ่านมาตรฐาน EN-420:2003 ซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานเบื้องต้นของถุงมือ อย่างไรก็ตามการทดสอบถุงมือตามมาตรฐานนั้นเป็นการปฏิบัติภายในห้องทดลองซึ่งแตกต่างจากการใช้งานจริง ดังนั้นผู้ใช้ควรมีการทดสอบถุงมือในการปฏิบัติงานจริงก่อนการตัดสินใจเพื่อให้มั่นใจได้ว่าถุงมือนั้นมีคุณสมบัติที่เพียงพอ ทั้งนี้ทีมงานที่มีประสบการณ์ของเรายินดีจะให้คำปรึกษาในการเลือกถุงมือเพื่อให้ตรงกับความต้องการของคุณ
EN 420:2003, ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับถุงมือเพื่อการปกป้อง
กำหนดมาตรฐานทางด้านการออกแบบ การผลิต ประสิทธิภาพ ความสะบายในการสวมใส่ รวมถึงกำหนดมาตรฐานการทำสัญลักษณ์เพื่อแสดงประสิทธิภาพของถุงมือ โดยมาตรฐานจะให้คะแนนแก่ถุงมือตามประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ที่เป็นข้อบ่งชี้ตามมาตรฐานที่กำหนด
ข้อกำหนด
การระบุเครื่องหมายและข้อมูลพื้นฐาน ถุงมือแต่ละชิ้น ควรได้รับการระบุเครื่องหายไว้ดังนี้
-
ชื่อผู้ผลิต
-
ขนาดของถุงมือ
-
ชื่อรุ่น
-
รหัสสินค้า
-
เครื่องหมาย CE
-
เครื่องหมายรูปภาพ
ขนาด
ขนาดของถุงมือนั้นถูกกำหนดจากเส้นรอบวงกำมือของผู้สวมใส่ ซึ่งโดยทั่วไปจะวัดจากมือข้างที่ถนัดซึ่งมักเป็นข้างที่ใหญ่กว่า โดยมารตรฐานได้กำหนดขนาดต่างๆของถุงมือตามเส้นรอบวงกำมือของผู้สวมใส่ในปรากฎในตารางด้านล่าง
ขนาดถุงมือ |
พอดีกับขนาดมือ |
เส้นรอบวงฝ่ามือ / ความยาว (มิลลิเมตร) |
ความยาวขั้นต่ำของถุงมือ (มิลลิเมตร) |
6 |
6 |
152/160 |
220 |
7 |
7 |
178/171 |
230 |
8 |
8 |
203/182 |
240 |
9 |
9 |
229/192 |
250 |
10 |
10 |
254/204 |
260 |
11 |
11 |
279/215 |
270 |
ความถนัดมือ
ความสามารถของถุงมือ สามารถแบ่งระดับได้ ตามตารางด้านล่างนี้
ระดับความสามารถ |
เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กสุด |
1 |
11.0 |
2 |
9.5 |
3 |
8.0 |
4 |
6.5 |
5 |
5.0 |
การออกแบบของถุงมือ
-
ถุงมือต้องได้รับการออกแบบเพื่อสร้างการป้องกันสูงสุดแก่ผู้สวมใส่ในทุกๆ สภาพการใช้งานจริง
การไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สวมใส่
-
ถุงมือต้องไม่เป็นภัยต่อผู้สวมใส่
-
ค่า pH ของถุงมือต้องอยู่ระหว่าง 5 ถึง 9.5
-
ปริมาณสาร Chromium (VI) ในถุงมือต้องไม่เกิน0mg ต่อน้ำหนักถุงมือ
-
ถุงมือยางธรรมชาติต้องตรวจสอบค่าโปรตีนตามมาตรฐาน EN 455-3
EN 374:2003, มาตรฐานสำหรับถุงมือป้องกันสารเคมีและจุลินทรีย์
มาตรฐานกำหนดความสามารถของถุงมือในการปกป้องสารเคมี และจุลินทรีย์
คำจำกัดความ
การทะลุผ่าน
การวัดความสามารถในการเคลื่อนที่ของสารเคมี และจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ผ่านระดับโมเลกุลของถุงมือ
การซึมผ่าน
การซึมผ่านคือการเคลื่อนที่ของโมเลกุลจากความเข้มข้นสูงลงสู่ความเข้มข้นต่ำ เนื่องจากของเหลวสามารถซึมผ่านเนื้อยางของถุงมือผ่านการซึมผ่าน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสามารถวัดระยะเวลาการซึมผ่านของของโมเลกุลของเหลวผ่านมายังมือ
ข้อกำหนด
การทะลุผ่าน
ถุงมือต้องไม่มีรูรั่ว และต้องผ่านการทดสอบหารูรั่วดังกล่าวโดย ลม และ/หรือ น้ำ โดยจำนวนถุงมือที่ผ่านการทดสอบต้องเป็นไปตามมาตรฐานจำนวนที่กำหนดไว้ใน Acceptable Quality Level (AQL).
ระดับความสามารถ |
หน่วยระดับการยอมรับทางคุณภาพ (AQL) |
ระดับการตรวจสินค้า |
ระดับ 3 |
< 0.65 |
G1 |
ระดับ 2 |
< 1.5 |
G1 |
ระดับ 1 |
< 4.0 |
S4 |
การซึมผ่าน
ค่าวัดการซึมผ่านในระดับต่างๆ จะอ้างอิงถึงระยะเวลาของสารเคมีที่ใช้ในการซึมผ่านถุงมือยาง
ระยะเวลาการซึมผ่านของสารเคมี |
หมวดการปกป้อง |
ระยะเวลาการซึมผ่านของสารเคมี |
หมวดการปกป้อง |
> 10 นาที |
ระดับ 1 |
> 120 นาที |
ระดับ 4 |
> 30 นาที |
ระดับ 2 |
> 240 นาที |
ระดับ 5 |
> 60 นาที |
ระดับ 3 |
> 480 นาที |
ระดับ 6 |
คำอธิบายแผนภูมิรูปภาพ
การทนทานสารเคมี
แผนภูมิรูปภาพจะมีตัวอักษรกำกับทั้งหมด 3 ตัว โดยตัวอักษรดังกล่าวเป็นตัวแทนของสารเคมีที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งถุงมือต้องทนต่อการซึมผ่านของสารเคมีทั้งหมดเป็นระยะเวลา 30 นาทีของการทดสอบ
ตัวอักษรย่อของสารเคมี |
สารเคมี |
รหัส CAS |
กลุ่มสารเคมี |
A |
Methanol |
67-56-1 |
Primary Alcohol |
B |
Acetone |
67-64-1 |
Ketone |
C |
Acetonitrile |
75-05-8 |
Nitrile Compound |
D |
Dichloromethane |
75-09-2 |
Chlorinated Paraffin |
E |
Carbone Disulphide |
75-15-0 |
Sulphur Containing Organic Compound |
F |
Toluene |
108-88-3 |
Aromatic Hydrocarbon |
G |
Diethylamine |
109-89-7 |
Amine |
H |
Tetrahydrofurane |
109-99-9 |
Heterocyclic and Ether Compound |
I |
Ethyl Acetate |
141-78-6 |
Ester |
J |
n-Heptane |
142-85-5 |
Saturated Hydrocarbon |
K |
Sodium Hydroxide 40% |
1310-73-2 |
Inorganic Base |
L |
Sulphuric Acid 96% |
7664-93-9 |
Inorganic Mineral Acid |
จุลชีวัน
รูปจุลชีวันด้านข้างนี้ ใช้เมื่อถุงมือผ่านค่ากำหนดอย่างน้อยระดับ 2 ในเรื่องการทดสอบการซึมผ่าน
ความทนทานต่อสารเคมีอยู่ในระดับต่ำ
แผนภูมิรูปภาพดังกล่าวจะถูกใช้กับถุงมือซึ่งไม่สามารถทนการซึมผ่านของสารเคมีชนิดที่กำหนดเป็นระยะเวลา 30 นาทีที่กำหนดไว้
EN 388:2003, มาตรฐานสำหรับควบคุมถุงมือป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานเครื่องจักรกล
มาตรฐานนี้มีผลควบคุมต่อถุงมือทุกประเภทที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันแรงกระแทก แรงขัด การฉีกขาด รวมถึงการเจาะทะลุ ซึ่งเกิดจากการใช้งานในสภาพหนัก
ถุงมือจะต้องผ่านการทดสอบความคงทนต่อแรงเครื่องจักรกลทั้งหมดสี่การทดสอบ ซึ่งจะแสดงออกผ่านทางแผนภูมิรูปภาพที่มีรหัสตัวเลข 4 ตัวกำกับ โดยตัวเลขแต่ละตัวจะบ่งบอกถึงบททดสอบที่ถุงมือได้ผ่าน
a) การทนทานต่อแรงขัดสี
ทดสอบโดยการวัดจำนวนรอบที่ถุงมือสามารถทนการขัดสีจนกว่าจะขาด
b) การทนทานการบาดจากของมีคม
ทดสอบโดยการวัดจำนวนรอบที่ต้องใช้ในการตัดเฉือนถุงมือบนความเร็วที่สม่ำเสมอ
c) การทนทานต่อการฉีกขาด
ทดสอบโดยการวัดขนาดของแรงดึงที่จำเป็นในการฉีกตัวอย่างถุงมือ
d) การทนทานต่อการเจาะทะลุ
ทดสอบโดยการวัดความแรงที่จำเป็นในการเจาะทะลุถุงมือโดยใช้เครื่องมือมาตรฐานในการทดสอบ
โดยแต่ละบททดสอบภายใต้มาตรฐานดังกล่าวมีการแบ่งระดับประสิทธิภาพออกทั้งหมด 5 ระดับ โดยมีมีระดับ 0 เป็นระดับต่ำสุด จนถึงระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
การทดสอบ |
ระดับการทดสอบ |
|||||
0 |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
|
a) การทนทางแรงขัดสี |
< 100 |
100 |
500 |
2,000 |
8,000 |
|
b) การทนทานการบาดจากของมีคม |
< 1.2 |
1.2 |
2.5 |
5.0 |
10.0 |
20.0 |
c) การทนทานต่อการฉีกขาด |
< 10 |
10 |
25 |
50 |
75 |
|
d) การทนทานต่อการเจาะทะลุ |
< 20 |
20 |
60 |
100 |
150 |